ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของ นางสาว กนกรัตน์ เสมทับ สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ทักทาย>>>>>






     ก่นอื่นต้องขอกล่าวคำว่า" สวัสดี" ก่อนนะคะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกนี้นะคะ ดิฉันชื่อนางสาวกนกรัตน์  เสมทับ ชื่อเล่นชื่อเปรี้ยว ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ศึกษา ในบล็อกนี้จะมีเนื่อหาเกี่ยวกับนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามามายให้ทุกคนได้ศึกษากัน มีทั้ง หวังว่าผู้ที่เข้ามาเยี่ยมเยื่อนจะได้ความรู้ไม่มากก็น้อย << ขอบคุณค่ะ>> *... ...*







วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

โครงการสอน

โครงการสอน
PC54505 วิชานวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา                                               3(2-2-5)     (Innovation, Technology and Information in Education)
อาจารย์ผู้สอน  ผศ.ดร.วิวรรธน์  จันทร์เทพย์ 
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ภาคเรียนที่ 1 / 2556


คำอธิบายรายวิชา
                ศึกษาแนวคิด  ทฤษฎี  นวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา  ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้  การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม  เทคโนโลยี  และสารสนเทศ  แหล่งเรียนรู้ การสร้าง  การออกแบบ   การนำไปใช้  การประเมินผล  การปรับปรุงนวัตกรรม  สามารถเลือกใช้  ออกแบบ  สร้าง  ปรับปรุงนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี  สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  และเพื่อส่งเสริมการเรียนรุ้ของผู้เรียน


เนื้อหาบทเรียน
                หน่วยการเรียนที่ 1  แนวคิด  ทฤษฎี  ความหมาย  ความสำคัญของนวัตกรรม  เทคโนโลยีและสารสนเทศ    
                                            การศึกษา                           
                หน่วยการเรียนที่  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
                หน่วยการเรียนที่ 3  สื่อการเรียนการสอน
                หน่วยการเรียนที่ 4  วิธีระบบ
                หน่วยการเรียนที่ 5  จิตวิทยาการเรียนการสอน
                หน่วยการเรียนที่ 6  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
                หน่วยการเรียนที่ 7  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
                  หน่วยการเรียนที่ 8  หนังสืออีเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
                หน่วยการเรียนที่ 9  สื่อมัลติมีเดีย (Multi-Media)
                หน่วยการเรียนที่ 10 การเรียนการสอนแบบผสมผสาน

กิจกรรมการเรียนการสอน
1.                รูปแบบการสอนเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (blended learning) ระหว่าง การเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ(Face-to-Face  or  Traditional  Classroom) กับ การเรียนการสอนบนออนไลน์โดยใช้เว็บบล็อก (Online Learning with Weblog)โดยใช้อัตราส่วน 39% - 79%
2.                เทคนิควิธีสอน
2.1           การบรรยายประกอบสื่อการเรียนการสอน
2.2           การมอบหมายงาน  การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
2.3           การทำงานเป็นกลุ่มด้วยการแสดงความคิดเห็น 
-                     การซักถาม
-                     การอภิปราย
-                     การทำแบบฝึกหัด
-                     การแสดงผลงาน

การบูรณาการกับความพอเพียง
                ความมีเหตุผล
                ความพอประมาณ
                ภูมิคุ้มกันในตนเองที่ดี
-                     เงื่อนไขความรู้  :   รอบรู้    รอบคอบ   ระมัดระวัง
-                     เงื่อนไขคุณธรรม  :  ซื่อสัตย์   แบ่งปัน  

คุณลักษณะที่พึงประสงค์
                ผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้จะต้องเป็นผู้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำคัญได้แก่  ความซื่อสัตย์  โดยแสดงออกอย่างบูรณาการอย่างสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่างๆไปพร้อมๆกับกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน  เช่น 
-  ความรับผิชอบและตรงต่อเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
-  มีความรักความสามัคคีในกลุ่มผู้เรียนร่วมวิชาเอกเดียวกันและวิชาเอกอื่นๆ
-  ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์
-  ใฝ่ดี  ใฝ่รู้  สู้งาน
-  มีความคิดสร้างสรรค์
-  มีระเบียบวินัยในการแต่งกาย
-  สุภาพ  เสรีภาพ  อ่อนน้อม  และให้เกียรติผู้อื่น
แหล่งเรียนรู้
1.                ห้องสมุด
2.                อินเตอร์เน็ต
3.                เอกสารประกอบการสอน
4.                ตัวอย่างเว็บบล็อก
5.                สื่อของจริง  ของตัวอย่าง
6.                ชุมชนท้องถิ่น

การบูรณาการกับความพอเพียง

"คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็จะมีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด - อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ - มีความคิดว่าทำอะไร ต้องพอเพียง หมายความว่า พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข"



ความพอเพียง คือคุณธรรม และความรู้
ความพอเพียง...เป็นปรัชญาที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ก่อนที่จะเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ
... ความพอเพียงนี้หมายถึงความพอประมาณ มีเหตุมีผล การเดิน สายกลาง รวมถึงความจำเป็นที่ต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีต่อการรับผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน...ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบคอบ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันก็จะ ต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ... คือ คุณธรรม
รัฐบาลในชุดปัจจุบันได้น้อมนำเอาปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่ง คุณโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เน้นในหลักใหญ่ในแนวปฏิบัติคือ... ความรู้คู่คุณธรรม
โดย...แบ่งส่วนออกเป็นไตรภาคี คือ กลุ่มฐานราก เช่น ประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการรายเล็ก ผู้ใช้แรงงาน ฯลฯ และกลุ่มธุรกิจ เช่นสถาบันการเงินต่างๆ กับภาคของรัฐฯที่จักต้องทำหน้าที่อย่างเต็มที่เพื่อให้เกิดความพอดี
... โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรนั้นเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตเป็นอย่างยิ่ง ที่จะทำให้เกิดการพึ่งพาตนเองสามารถดำรงชีพอยู่ได้ อย่างไม่เดือดร้อน อันเป็นการสร้างความสุขที่มาจากคุณธรรม
แต่คุณธรรมที่เกิดขึ้นนี้ก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจแก่มวลชนเท่าใดนัก ทั้งๆที่ภาครัฐจะพยายามรณรงค์และประชาสัมพันธ์ไปอย่างต่อเนื่องก็ตาม ครั้งนี้จึงได้จัดกิจกรรมขึ้นเพื่อให้ประชาชนคนไทยได้รู้จักคำว่าคุณธรรม มากขึ้น โดยเน้นนำว่า...ถึงเวลา คุณธรรมนำสังคมไทย สู่การสร้างสังคม รู้รัก สามัคคี
เป็นการเสริมสร้างกระแสสังคม กระตุ้นให้เกิดความตื่นตัว สร้างพลังทางคุณธรรม และมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างจริยธรรมในสังคมเพิ่มมากขึ้น ในช่วงวันที่ 26 ถึง 28 มกราคมนี้ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ซึ่งงานนี้จะเป็นลักษณะของ ตลาดนัดคุณธรรม ที่ไม่ต้องมีสินค้าคุณธรรมมาขายเหมือนตลาดทั่วๆไป แต่จะมีกลุ่มที่สร้างคุณธรรมตั้งแต่ ระดับเด็กๆนักเรียนจนถึงคนแก่ที่วัยหลังเกษียณ นำสิ่งที่ถือว่ามีคุณธรรมที่เป็นรูปธรรมมานำแสดง...
โดย ฯพณฯ ประธานองคมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานเปิดงาน และ ฯพณฯ องคมนตรี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย กับ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี จะเป็นองค์ปาฐกในหัวข้อ...คุณธรรม นำ สังคมไทย
เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกคุณธรรม-จริยธรรม อันเป็นปัจจัยในความพอเพียง ให้กลับมาสู่คนไทยในชาติอีกครั้งหนึ่ง...!!! 

การบูรณาการกับความซื่อสัตย์

         ก่อนอื่นต้องถามตัวคุณเองก่อนว่า คุณมีความซื่อสัตย์ ( Integrity) ในการทำงานมากน้อยแค่ไหน และแน่นอนว่าคงจะไม่มีใครตอบว่าตนเองไม่มีความซื่อสัตย์ ความซื่อสัตย์จึงเป็นคุณลักษณะที่สำคัญและเป็นที่ต้องการในทุกองค์การ ซึ่งความซื่อสัตย์นอกจากจะหมายถึงการ รักษาความลับ ผลประโยชน์ และทรัพย์สินต่าง ๆ ของบริษัทแล้ว ความซื่อสัตย์ยังหมายรวมไปถึงการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและไม่บิดเบือนจากความเป็นจริง และการปฏิบัติตามระเบียบหรือกฎของบริษัท และยังพบว่าอีกว่ามีหลายองค์การได้กำหนดความซื่อสัตย์เป็นวัฒนธรรมองค์การ (Corporate Culture) หรือคุณค่าร่วม ( Core Value)ที่เกี่ยวข้องกับความคิดความเชื่อที่อยากให้พนักงานทุกคนปฏิบัติ

          แล้วทำไมคุณจะต้องมีความซื่อสัตย์ในการทำงาน ..... ความซื่อสัตย์ในการทำงานจะส่งผลโดยตรงต่อคุณลักษณะส่วนบุคคล ( Personal Attribute) ของตัวคุณเองที่คนอื่นมองหรือรับรู้ในตัวคุณว่าเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์หรือไม่ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผลต่อเนื่องไปยังหน่วยงานและองค์การของคุณเอง ทั้งนี้คุณลักษณะของความซื่อสัตย์จะมีความสำคัญและส่งผลต่อตัวคุณและต่อหน่วยงานหรือองค์การของคุณ ขอสรุปได้ดังต่อไปนี้

          1. การได้รับ ความไว้วางใจ จากหัวหน้างานของคุณ พนักงานที่มีความซื่อสัตย์ย่อมทำให้หัวหน้างานพร้อมและกล้าพอที่จะมอบหมายงานที่สำคัญหรือเป็นความลับของบริษัทให้กับคุณ เพราะหัวหน้าไว้วางใจตัวคุณเพราะรู้ว่างานที่มอบหมายให้ไปนั้นคุณต้องทำเสร็จและข้อมูลที่คุณทำนั้นมีความถูกต้องอย่างแน่นอน
          2. ความน่าเชื่อถือ ได้ของตัวคุณ คุณจะได้รับการยอมรับและการกล่าวถึงในทางที่ดีจากบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือแม้กระทั่งลูกค้าของคุณเอง เช่น ยอมรับว่าคุณมีความรับผิดชอบและความตั้งใจทำงาน เนื่องจากคุณไม่เคยที่จะขาดงานหรือมาสาย รวมทั้งข้อมูลที่คุณให้นั้นมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันเสมอ
          3. สร้างผลงาน ( Performance) ของตัวคุณ ความซื่อสัตย์ทำให้คุณมีโอกาสทำงานใหญ่หรือสำคัญ ซึ่งอาจเป็นงานที่มีผลกระทบต่อหน่วยงานหรือองค์การ โดยคุณจะมีโอกาสแสดงฝีมือการทำงานของคุณและโอกาสนี้เองย่อมจะส่งผลต่อเนื่องไปยังผลผลการปฏิบัติงาน     ( Performance) และมูลค่าเพิ่ม ( Added Value) ของตัวคุณเอง
          4. รักษาผลประโยชน์ของหน่วยงาน/บริษัท หากคุณมีความซื่อสัตย์แล้วล่ะก็ ย่อมหมายถึงคุณไม่ได้เอาเปรียบหน่วยงานและบริษัท เนื่องจากคุณทำงานอย่างเต็มที่ ได้ปฏิบัติตามระเบียบและรักษาทรัพย์สินของบริษัท และรวมถึงคุณไม่เอาความลับของบริษัทไปเปิดเผยให้คู่แข่งรับรู้ ซึ่งหมายถึงคุณกำลังรักษาผลประโยชน์ให้กับหน่วยงานและบริษัทของคุณเอง